จุดเด่นของรูปแบบการลงทุนของโครงการ โซลาร์ ของภาคธุรกิจ/โรงงาน ในแต่ละแบบ

614 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จุดเด่นของรูปแบบการลงทุนของโครงการ โซลาร์ ของภาคธุรกิจ/โรงงาน ในแต่ละแบบ

จุดเด่นของรูปแบบการลงทุนของโครงการ โซลาร์ ของภาคธุรกิจ/โรงงาน ในแต่ละแบบ

เนื่องด้วยโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้น นับว่าเป็นทางเลือกของการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งสอดคล้องกับการผลักดันของทั่วโลก เพื่อให้ใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้โครงการดังกล่าวมีสิทธิประโยชน์ภาครัฐ ผ่าน BOI รวมถึงการสนับสนุนเป็นพิเศษจากสถาบันการเงิน รวมถึงผู้ลงทุนที่เกี่ยวข้อง เนื่องด้วยเป็นโครงการที่สามารถคาดการ์ cash flow ได้โดยง่าย ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า จำนวนเงินที่จะประหยัดจากการประหยัดไฟฟ้านี้สามารถนำมาผ่อนชำระต่อตัวโครงการได้ ทำให้เกิดความมั่นใจต่อสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ รวมถึงผู้ลงทุนด้วย

นอกจากนี้ยังมีตัวแปรที่สำคัญคือสิทธิประโยชน์ของภาครัฐ ผ่าน BOI ที่เป็นตัวเร่งผลตอบแทนการลงทุนและช่วยสนับสนุนการลงทุนให้กับนักลงทุนได้

หากพิจารณาถึงสิทธิประโยชน์ภาครัฐ และการสนับสนุนจากสถานันการเงินหรือนักลงทุนแล้ว สามารถแบ่งรูปแบบการลงทุนของโครงการ โซลาร์ ได้ 4 รูปแบบ ด้วยกันคือ

  1. การลงทุนเอง
    • จุดเด่น เป็นรูปแบบที่ให้ตอบแทนต่อนักลงทุนสูงสุด เหมาะกับกิจการทั่วไป โดยมาก จะคืนทุนในระยะเวลา 5-7 ปี (ขึ้นกับรูปแบบการใช้ไฟฟ้า) หากมีการได้รับสิทธิประโยชน์ BOI จะช่วยเร่งผลตอบแทนการลงทุนได้เท่าตัว ทำให้สามารถคืนทุนได้ 2.5 – 3.5 ปี นอกจากนี้ทางธนาคารยังมีโปรแกรมให้กู้ระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ (ขึ้นกับการพิจารณาของสถาบันการเงิน)
    • จุดด้อย  ถึงแม้ว่า cash flow จะแสดงถึงศักยภาพในการผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ แต่ทางสถาบันการเงิน มักปล่อยกู้ 60-70% ของโครงการโดยใช้โครงการโซลาร์เป็นตัวค้ำประกัน ทำให้บางบริษัทฯ ต้องใช้เครดิตจากส่วนอื่นเพื่อเพิ่มวงเงินในการกู้โครงการ

  2. Leasing
    • จุดเด่น เป็นรูปแบบที่ให้ตอบแทนต่อนักลงทุนสูง โดยสามารถผสานสิทธิประโยชน์ BOI ลดหย่อนภาษี 50% ของเงินลงทุน เข้ามาเกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ สถาบันการเงินในรูปแบบ leasing ยังมีการพิจารณาปล่อยวงเงินต่อโครงการสูงถึง 80% (บางกรณีอาจให้มากถึง 100% ได้ ทำให้รูปแบบจะไปใกล้เคียงกับให้ผู้อื่นมาลงทุนให้ แต่แบบ leasing จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ามาก) นอกจากนี้ยังมีผลประโยชน์เพิ่มทางด้านการบัญชี ที่วงเงินกู้มิได้บันทึกอยู่ในส่วนหนี้สิน แต่บันทึกในส่วนค่าใช้จ่ายของบริษัท
    • จุดด้อย อาจจะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคาร สักเล็กน้อย

  3. การจัดตั้งบริษัทพลังงาน
    • จุดเด่น เหมาะกับบริษัท ที่มีบริษัทในเครือและมีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก การจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อเป็นผู้ลงทุนให้กับบริษัทในเครือ หรือปล่อยกู้โครงการให้กับบริษัทในเครือ ก็นับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องด้วยเพราะทั้งด้านฝั่งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ต่างเป็นบริษัทในเครือเช่นเดียวกัน ทำให้สถาบันการเงินมักให้การสนับสนุนที่ดีเนื่องด้วยมีความเสี่ยงที่ต่ำ
    • จุดด้อย การจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาอีกแห่ง จะมีความยุ่งยากในการดำเนินการขึ้นบ้างการให้นักลงทุนมาลงทุนให้

    • จุดเด่น ไม่ต้องมีการลงทุนเบื้องต้น ทั้งนี้การลงทุนและการดูแลรักษาระบบเป็นภาระหน้าที่ของนักลงทุน
    • จุดด้อย ผลตอบแทนจะน้อยที่สุด ในรูปแบบการลงทุนทั้งหมด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้